วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถานที่แนะนำ

เกาะเสม็ด จ.ระยอง




เกาะเสม็ด เชื่อกันว่าคือเกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อของระยอง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทย และชาวต่างประเทศ ตั้งอยู่ตำบลเพ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่. เกาะเสม็ด มีลักษณะเป็นเกาะรูปสามเหลี่ยม ส่วนฐานของเกาะอยู่ด้านทิศเหนือ ซึ่งหันเข้าสู่ฝั่งบ้านเพ มีภูเขาสลับซับซ้อนกันอยู่ 2-3 ลูก มีที่ราบอยู่ตามริมฝั่งชายหาด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเหนือ และตะวันออก เหตุที่มีชื่อว่า "เกาะเสม็ด" เพราะเกาะนี้มีต้นเสม็ดขาว และเสม็ดแดงขึ้นอยู่มาก



การเดินทางไปเกาะเสม็ด


รถยนต์ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่

-ส้นทางแรก ทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) จากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางปู อำเภอบางปะกง จังหวัดชลบุรี บางแสน ศรีราชา พัทยา หาดจอมเทียน สัตหีบ อำเภอบ้างฉาง ไปจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

-เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 34 (ถนนบางนา-ตราด) เริ่มจากตรงจุดสิ้นสุดทางด่วนด่านเฉลิมนคร อำเภอบางนา ผ่านอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 3 ที่กิโลเมตรที่ 70 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากนั้นก็จะผ่านเส้นทางเดียวกันกับเส้นทางที่ 1 รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

-เส้นทางที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 36 (บายพาส 36) จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 2 จนถึงกิโลเมตรที่ 140 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 36 จากนั้นให้เดินทางต่อไปยังจังหวัดระยองด้วยระยะทาง 70 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร

-เส้นทางที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 344 (ถนนสายบ้านบึง-แกลง) เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง หนองใหญ่ อำเภอวังจันทร์ และสิ้นสุดที่อำเภอแกลง เป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร (กรุงเทพฯ-ชลบุรี 80 กิโลเมตร) เส้นทางเส้นนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังแหล่งที่องเที่ยวในเขตอำเภอแกลง หรือเดินทางไปยังจังหวัดจันทบุรี หรือจังหวัดตราด และหากต้องการที่จะเดินทางเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3 โดยย้อนกลับมาอีกประมาณ 42 กิโลเมตร

-เส้นทางที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 7 (สายมอเตอร์เวย์) เริ่มจากถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 75 กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 36 เป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 175 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง จาก สถานีขนส่งสายตะวันออก ( เอกมัย) มีรถประจำทางไปยังตัวจังหวัดระยอง และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหลายเส้นทาง ได้แก่

-สายกรุงเทพฯ - ระยอง, บ้านเพ, แกลง, แหลมแม่พิมพ์, มาบตาพุด, ประแสร์ เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2391 2504


-สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยองโทร. 0 3861 137 9และมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ เส้นทางสายด่วน มอเตอร์เวย์ ได้แก่ บริษัท ระยอง ทัวร์ โทร. 0 2712 3662 สาขาระยอง โทร. 0 38 86 1 354-5 จาก


-สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถ ธรรมดา และรถปรับอากาศชั้น 2 หมอชิต- ระยอง ออกทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 04.30-16.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2841 ส่วนรถปรับอากาศสายด่วน วิ่งเส้นบางนา-ตราด ออกตั้งแต่เวลา 04.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระยองทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2 936 1216 สาขาระยอง โทร. 0 3886 1354-5

การเดินทางจากบ้านแพไปเกาะเสม็ด


จากท่าเรือบ้านเพ มีเรือโดยสารบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง (รอผู้โดยสารอย่างน้อยประมาณ 20 คนจึงออกเรือ) ค่าโดยสารระหว่างบ้านเพ-หาดทรายแก้ว (ท่าเรือหน้าด่าน)ไป-กลับ 100 บาท เรือเมล์ 8.00 - 16.00 น.ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 4


เรือ speed boat ราคาประมาณ 1,500 - 2,600 บาทต่อเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมงขึ่นอยู่กับจำนวนคนและขนาดของเรือ (รายละเอียดด้านล่าง) จากบ้านเพไปหาดต่างๆ ถ้าท่านพลาดเรือที่ไปยังอ่าวๆต่างๆที่ออกเป็นเวลาท่านสามารถนั่งเรือมาลงท่าเรือหน้าด่าน ค่าโดยสารประมาณ 50 บาทต่อคนใช้เวลาประมาณ 40 นาที ที่นี่มีบริการรถสองแถวและมอเตอร์ไซต์ ไปยังหาดต่างๆ ราคาขึ้นอยู่ระยะทางไปหาดนั้นๆ จากบ้านเพ-อ่าววงเดือน และะมีเรือออกเวลา 9.30 , 13.30 , 15.30 น. (ท่าเรือสะพานใหม่)ไป-กลับ 120 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ท่าเรือนวลทิพย์ โทร. 0 3865 1508, 0 3865 1956

การเดินทางบน เกาะเสม็ด

บนเกาะมีถนนสายเดียวเป็นทั้งคอนกรีตบ้างสลับกับลูกรังและดิน สองแถวดูจะเป็นการเดินทางที่สะดวกที่สุด อัตราค่าโดยสาร หาดทรายแก้วคนละ 10 บาท เหมา 100 บาท อ่าวไผ่คนละ 20 บาท เหมา 150 บาท อ่าวพร้าวอ่าววงเดือนคนละ 30 บาท เหมา 200 บาท อ่าวหวาย อ่าวเทียน 40 บาทต่อคน เหมา 300-400 บาท อ่าวกิ่วคนละ 50 บาท เหมา 500 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการจญภัยและสนใจมอเตอร์ไซต์เช่า ขับไม่คล่องอย่าลองจะดีกว่าเพราะสภาพถนนเป็นดินสลับหินและลาดชัน ราคาเริ่มต้น 300 บาทต่อวัน ขึ่นอยู่กับการต่อรอง


วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ประทับใจ

ทะเลหาดแหลมแม่พิมพ์ จ.ระยอง


จังหวัดระยอง เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีทะเลสวยไม่แพ้ใคร ไม่ว่าจะเป็น หาดแม่รำพึง เกาะเสม็ด บ้านเพ และหาดหนึ่งที่กำลังเป็นนิยมของนักท่องเที่ยว ที่น่าเที่ยวที่สุดก็คือ หาดแหลมแม่พิมพ์ ซึ่งหาดแม่พิมพ ์ยังมี ทะเล ชายหาด น้ำทะเล ที่สวยงามอยู่ พร้อมด้วยร้านอาหารริมทะเล และบ้านพัก โรงแรม ติดหาดแม่พิมพ์ ที่มีบรรยากาศดีมากๆ หาดแหลมแม่พิมพ์ มี โรงแรม รีสอร์ท หรือ โฮมเสตรย์ ให้ท่านเลือพัก อยู่ มากมาย ราคาไม่แพง อาหารทะเล สด อร่อย นั่งกินกัน ริมหากแหลมแม่พิมพ์กันเลย





แหลมแม่พิมพ์ อยู่กม.ที่ 263 และกิโลเมตรที่ 268 ผ่านอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไปอีก 5 กิโลเมตร หรือห่างจากวังแก้ว ตามถนนเลียบชายหาดไปอีก 11 กิโลเมตร บริเวณชายหาดแม่พิมพ์เล่นน้ำได้ คลื่นไม่แรง มีบริการบ้านพัก และร้านอาหารตลอดแนวชายหาดด้วยห่างจากตัวเมืองระยอง 48 กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิทมีทางแยกขวาไปแหลมแม่พิมพ์ถึง 3 แห่งด้วยกัน คือ กิโลเมตรที่ 259.5 กิโลเมตร


วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย





บันทึกเล่มนี้เป็นความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต เรื่อง "Peregrinação" ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวลล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบ-ธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์การบ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปตุเกตุเกสและการพระราชทานที่ดินใพวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา



ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอร์มูร์เก่า ใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจน เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 1 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอดึแปดรา การผจญภัยของปินโตเกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ในอินเดีย ขณะที่เขาอายุได้ 8 ปี เขาก็เดินทางกลัมาตุภูมิเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปิตโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดีตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน เมื่อเขาเดินทางถึงโปรตุเกส เขาพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางัลเนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม ครั้ง ครั้งแรกเขาเข้ามาในปัตตานีและนครศรีรรมราชก่อนค.ศ1548 และครั้งที่ 2 เขาเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช



หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง "Peregrinação" ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน งานเขียนของปินโตถูกตีพิมออกมา และแปลเป็นภาษาต่างๆ ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ "การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ. 1537-1558" ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขขาออกเผยแพร่อีกครั้ง โดยแปลจากหนุฃังสือชื่อ "Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship"


งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปแบบของร้อยแก้ว บางตอนก้ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถาม บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือเล่มนี้จากภาษาฝรังเศษเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เรื่องราวในหนังสือเล่มยังไปสอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคนอีกด้วย แถมนักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างโดยตอลดและ บางส่วนของงานเขียนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคลจึงไม่ความมองข้าม




วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2

บทที่ 2


ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อยใจสามารถจะสืบย้อนได้ไปถึงสมัยที่ยังมีอาณาจักร Babylonian และอาณาจักร Egyptian หลักฐานที่สนับสนุนการกล่สวอ้างนี้คือ ได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าชมในนคร Babylon เมื่อประมาณ 2600 ปีมาแล้ว สำหรับชาวอียิปต์ก็มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนาซึ่งดึงดูดทั้งผู้ที่มีความเลื่อมใสและผู้ที่เพียงอยากชมตึกราม สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงและผลงานทางด้านศิลปะในเมืองใหญ่ๆในอาณาจักรอียอปต์ เมื่อมีคนมาเที่ยวชมงานเทศกาลและสถานที่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆที่เกิดขึ้น ชาวอียิปต์บันทึกไว้เมื่อกว่า 2000ปีก่อนคริสตกาลด้วย

นักท่องเที่ยวชาวกรีกมีการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ชาวกรีกจะนิยมเดินทางไปยังสถานที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าที่ทำการบำบัดรักษาโรค นักท่องเที่ยวส่วนมากจึงเดินทางทางเรือ สินค้าต่างๆก้ค้นทางเรือ ชาวกรีกจึงเป้นนักเดินเรือที่มีความชำนาญ ในช่วง500ปีก่อนคริสตกาล กรุงเอเธนส์เป้นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมสถานที่สำคัญ



สรุปได้ว่าในสมัยอาณาจักรโรมันการท่องเที่ยวมีทั้งการท่องภายในประเทศและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ แต่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศเป้นการท่องเที่ยวที่ไร้พรมแดนเพราะไม่มีอาณาเขตแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นดินแดนของอังกฤษ และยังมีภาษาละตินเป้นภาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคนั้น ชาวโนมันเดินทางไปยัง Sicily , กรีก เกาะ Rhodes เมืองทรอย และอิยิปต์ และเมื่อถึงคริสศตวรรษที่ 3 ชาวโรมันก้ได้เดินทางไปจนถึงดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์



มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้นๆ

Herodotus ได้บันทึกคำบอกเล่าของเหล่ามัคคุเทศก์ในสมัยนั้นเกี่ยวกับเรื่องที่น่าเหลือเชื่อต่างๆ ไม่เท่าเทียมกันมีความแตกต่างกันทั้งในด้านคุณภาพของข้อมูล มัคคุเทศก์ในสมัยก่อนคริสตกาลแบ่งออกได้ 2 พวก พวกแรกคือ พวกที่เรียกว่า Periegetai มีหน้าที่คอยต้อนฝูงนักท่องเที่ยวให้เข้ากลุ่มส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า Exegetai เป็นพวกที่ให้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินค่าตอบแทน

หนังสือคู่มือนำเที่ยวปรากฏขึ้นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองทรอย นักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชาวกรีกชื่อ Pausanias ได้เขียนหนังสือชื่อ Description of Greece ขึ้นซึ่งเป้นการวิจารณ์เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ หนังสือนี้เป็นแนวทางให้กับนักเขียนในยุคหลังๆป้ายโฆษณาก้เริ่มเป้นที่รุ้จักในยุคนี้ แล้วในสมัยโรมันโบรานนักท่องเที่ยวชาวโรมันก็มักประสบปัญหาสินค้าปลอมแปลง อีกด้วย





การท่องเที่ยวในยุคกลาง มีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการคือ
  1. มีเป้าหมายของการเดินทางที่เด่นชัดได้แก่การแสวงบุญ
  2. ผลการเดินทางมีความสำคัญและความหมายทางด้านจิตใจเพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งชีวิต
  3. ผู้แสวงบุญต้องการให้คนอื่นเห็นถึงความสำเร็จแห่งการเดินทางในรูปของของที่ระลึก

แกรนด์ทัวร์(Grand Tour)

  • ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาได้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบเสรีภาพ และความต้องการที่จะเรียนรุ้ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
  • ชาวอังกฤษที่ร่ำรวยนิยมที่จะส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับอาจานย์ผู้สอนประจำตัว โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี

สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

  • สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรมไปเป็นอุตสหกรรม
  • ที่พักแรมกลายเป็นโรงแรมแทนที่ inns ต่างๆ
  • การย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนใหม่ๆ
  • มีกานพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ
  • มีการพัฒนากิจการรถไฟ
ยุคศตววษที่ 20
  • การท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง มีความสะดวกสบายมากขึ้น
  • ผู้คนนิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวขึ้น
  • พํฒนาของอุตสหกรรมการบิน

การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

  • ผู้คนสนใจเดินทางไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น เกิดความต้องการที่จะเห็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม
  • การเดินทางด้วยเครื่องบินมีระยะทางไกลขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การบิน
    เที่ยวบินเที่ยวแรกเป็นการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างนิวยอร์คกับเมืองปอร์ธสมัธ แต่เมื่อมีการหยุดพักหลายแหล่งในระยะแรกจึงไม่เป็นที่นิยมนัก
  • การเดินทางอากาศมีการขยายตัวอย่างรวดเร้ว ค่าโดยสารจะค่อนแพงก็ตาม แม่เมื่อแทบกับการเดินทางด้วยวิธีการอื่นการเดินทางทางเครื่องบินก็นับว่าไม่แพง
  • ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการบินโดยการเปิดตัว เครื่องบินเจท ลำตัวกว้างรุ่นโบอิ้ง 747 ซึ่งสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 400 คน

บทที่ 1

บทที่ 1

ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว


"การท่องเที่ยว" เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างที่ควรจะรู้จักถึงความหมายของการท่องเที่ยวซึ่งป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ และยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก


การท่องเที่ยวในปี 2506
ในปีพ.ศ. 2506 มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ.2513 ว่าการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะ
  1. มีการเดินทางไปสถานที่อื่นชั่วคราว


  2. เป็นการเดินทางไปแบบสมัครใจ


  3. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่การประกอบการอาชีพและการหารายได้


จากนิยามความหมายของการท่องเที่ยวที่มาจากการประชุมในปีพ.ศ.2506 นั้นที่ประชุมได้ให้คำนิยามเรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า "ผู้เยี่ยมเยือน" ซึ่งจำแนกได้คือ

  1. นักท่องเที่ยว(Tourist) : ผู้มาเยือนชั่วคราว ณ สถานที่ไปเยืยนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง อย่างน้อย 1 คืนไม่เกิน 1 ปี


  2. นักทัศนาจร(Excursionst) : ผุ้มาเยือนชั่วคราว ณ สถานที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมงและไม่พักค้างคืน



นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งผู้มาเยือนตามท้องถิ่นพำนักได้อีกเช่นกัน ได้แก่

  1. ผู้มาเยือนขาเข้า(Inbound Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง


  2. ผู้มาเยือนขาออก(Outbound Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่มีถื่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปท่องเที่ยวยังอีกประเทศหนึ่ง


  3. ผู้มาเยือนภายในประเทศ(Domestic Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยุ่


วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว

เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)

  • เป็นการท่องเที่ยวในวันหยุด เพื่อความสนุกสนาน มีวันหยุดจำกัด ไปเที่ยวแบบทิ้งหน้าที่การงาน ชีวิตจำเจในประจำวัน
  • การเดินทางไปเยี่ยมญาติมิตร

เพื่อธุรกิจ (Business)

  • มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน เพื่อสร้างรายได้ในอนาคต
  • การเดินทางเพื่อธุรกิจทั่วไป
  • การเดินทางเพื่อประชุม สัมมนา และจัดแสดงนิทรรศการนานชาติ (MICE)

เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

  • ความต้องการของนักท่องเที่ยวในระดับซับซ้อน เพื่อศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นในถิ่นนั้นๆ

ประเภทการท่องเที่ยว

- แบ่งตามสากล

  • การท่องเที่ยวภายในประเทศ
  • การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ
  • การท่องเที่ยวนอกประเทศ

- แบ่งตามลักษณะการเดินทาง

  • การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ

- กรุ๊ปเหมา

- กรุ๊ปจัด

  • การท่องเที่ยวแบบอิสระ

แบ่งตามวัถุประสงค์การเดินทาง

  • เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และพักผ่อน
  • เพื่อความธุรกิจ
  • เพื่อความสนใจพิเศษ

- การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : เที่ยวแบบคำนึงถึงสิ่งแวลล้อม ธรรมชาติ

- การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม : ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา : เพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ

- การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา

- การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธ์