วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1

บทที่ 1

ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว


"การท่องเที่ยว" เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างที่ควรจะรู้จักถึงความหมายของการท่องเที่ยวซึ่งป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ และยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก


การท่องเที่ยวในปี 2506
ในปีพ.ศ. 2506 มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ.2513 ว่าการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะ
  1. มีการเดินทางไปสถานที่อื่นชั่วคราว


  2. เป็นการเดินทางไปแบบสมัครใจ


  3. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่การประกอบการอาชีพและการหารายได้


จากนิยามความหมายของการท่องเที่ยวที่มาจากการประชุมในปีพ.ศ.2506 นั้นที่ประชุมได้ให้คำนิยามเรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า "ผู้เยี่ยมเยือน" ซึ่งจำแนกได้คือ

  1. นักท่องเที่ยว(Tourist) : ผู้มาเยือนชั่วคราว ณ สถานที่ไปเยืยนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง อย่างน้อย 1 คืนไม่เกิน 1 ปี


  2. นักทัศนาจร(Excursionst) : ผุ้มาเยือนชั่วคราว ณ สถานที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมงและไม่พักค้างคืน



นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งผู้มาเยือนตามท้องถิ่นพำนักได้อีกเช่นกัน ได้แก่

  1. ผู้มาเยือนขาเข้า(Inbound Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง


  2. ผู้มาเยือนขาออก(Outbound Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่มีถื่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปท่องเที่ยวยังอีกประเทศหนึ่ง


  3. ผู้มาเยือนภายในประเทศ(Domestic Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยุ่


วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว

เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)

  • เป็นการท่องเที่ยวในวันหยุด เพื่อความสนุกสนาน มีวันหยุดจำกัด ไปเที่ยวแบบทิ้งหน้าที่การงาน ชีวิตจำเจในประจำวัน
  • การเดินทางไปเยี่ยมญาติมิตร

เพื่อธุรกิจ (Business)

  • มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน เพื่อสร้างรายได้ในอนาคต
  • การเดินทางเพื่อธุรกิจทั่วไป
  • การเดินทางเพื่อประชุม สัมมนา และจัดแสดงนิทรรศการนานชาติ (MICE)

เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

  • ความต้องการของนักท่องเที่ยวในระดับซับซ้อน เพื่อศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นในถิ่นนั้นๆ

ประเภทการท่องเที่ยว

- แบ่งตามสากล

  • การท่องเที่ยวภายในประเทศ
  • การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ
  • การท่องเที่ยวนอกประเทศ

- แบ่งตามลักษณะการเดินทาง

  • การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ

- กรุ๊ปเหมา

- กรุ๊ปจัด

  • การท่องเที่ยวแบบอิสระ

แบ่งตามวัถุประสงค์การเดินทาง

  • เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และพักผ่อน
  • เพื่อความธุรกิจ
  • เพื่อความสนใจพิเศษ

- การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : เที่ยวแบบคำนึงถึงสิ่งแวลล้อม ธรรมชาติ

- การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม : ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา : เพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ

- การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา

- การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น