395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
บันทึกเล่มนี้เป็นความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต เรื่อง "Peregrinação" ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวลล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบ-ธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์การบ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปตุเกตุเกสและการพระราชทานที่ดินใพวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอร์มูร์เก่า ใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจน เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 1 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอดึแปดรา การผจญภัยของปินโตเกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ในอินเดีย ขณะที่เขาอายุได้ 8 ปี เขาก็เดินทางกลัมาตุภูมิเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปิตโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดีตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน เมื่อเขาเดินทางถึงโปรตุเกส เขาพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางัลเนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม ครั้ง ครั้งแรกเขาเข้ามาในปัตตานีและนครศรีรรมราชก่อนค.ศ1548 และครั้งที่ 2 เขาเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง "Peregrinação" ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน งานเขียนของปินโตถูกตีพิมออกมา และแปลเป็นภาษาต่างๆ ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ "การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ. 1537-1558" ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขขาออกเผยแพร่อีกครั้ง โดยแปลจากหนุฃังสือชื่อ "Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship"
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปแบบของร้อยแก้ว บางตอนก้ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถาม บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือเล่มนี้จากภาษาฝรังเศษเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เรื่องราวในหนังสือเล่มยังไปสอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคนอีกด้วย แถมนักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างโดยตอลดและ บางส่วนของงานเขียนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคลจึงไม่ความมองข้าม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น